Zeiss กล้องส่องทางไกลตัวแรกของโลก

กล้องส่องทางไกลนับเป็นสิ่งห้อยคอคู่กายของนักดูนกและนักนิยมธรรมชาติหลาย หลายท่านอาจสงสัยว่ากล้องส่องทางไกลที่เราใช้ในปัจจุบันนั้นมีความเป็นมาอย่างไร และใครเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์แสนวิเศษตัวนี้ครับ

กล้องส่องทางไกลตัวแรกของโลกสร้างโดยท่านกาลิเลโอ

กล้องส่องทางไกลตัวแรกของโลกนั้นเป็นกล้องส่องทางไกลแบบตาเดียว ถูกคิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงก้องโลก คือ คุณ กาลิเลโอ (Galileo Galilei) ในปี ค.ศ. 1609 ด้วยสิ่งประดิษฐ์ของท่านทำให้ท่านเป็นมนุษย์คนแรกที่เห็นพื้นผิวพระจันทร์ วงแหวนดาวเสาร์และค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม กล้องเทเลสโคปของท่านกาลิเลโอประดิษฐ์นั้นเป็นการนำเลนส์ 2 ชิ้นมาเรียงกัน (Refractor Type) ทำให้มีอัตราขยายไม่สูงมากคือ ประมาณ​30 เท่า เท่านั้น

รูปแบบของกล้องส่องทางไกลแบบกาลิเลโอที่เราคุ้นเคยกันได้แก่กล้องดูละคร (opera glass) หรือ Spyglass กล้องตาเดียวที่โจรสลัดใช้งานในภาพยนตร์นั่นเองครับ

ในปี ค.ศ.1704 เซอร์ไอแซค นิวตัน ได้ประกาศแนวคิดในการออกแบบกล้องเทเลสโคปใหม่ โดยใช้กระจกโค้งสะท้อนแสงที่เดินทางจากวัตถุให้ไปยังกระจกโค้งชิ้นที่ 2 เพื่อรวมแสงและส่งไปยังเลนส์ตา ด้วยเทคนิคของท่านนิวตันทำให้กล้องเทเลสโคปสามารถออกแบบให้มีอัตราขยายและการรวมแสงสูงกว่าแบบเดิมมากโดยการเพิ่มขนาดของกล้อง และกล้องเทเลสโคปที่นิวตันประดิษฐ์ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 6 นื้ว และได้กลายเป็นต้นแบบของกล้องดูดาวที่ใช้งานกันทุกวันนี้ โดยกล้องแบบนิวตันที่ใหญ่ที่สุดคือโทรทัศน์ที่หอดูดาวในรัสเซีย ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกล้องถึง 6 เมตร หรือ 236 นิ้วเลยทีเดียว

กล้องเทเลสโคปแบบกาลิเลโอ Refactor Type และแบบนิวตัน Reflector Type

กล้องส่องทางไกลแบบ 2 ตา หรือ Binoculars ตัวแรกถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย J. P. Lemiere ในปี ค.ศ. 1825 โดย Lemiere ได้นำกล้อง Opera glass แบบตาเดียว 2 ตัวมายึดบนเฟรมเดียวกัน และภายหลังจากนั้นกล้องส่องทางไกล Opera Glasses แบบ 2 ตาก็ได้รับความนิยมในหมู่คนสูงศักดิ์และร่ำรวย และกลายเป็นอุปกรณ์แฟชั่นที่ขาดไม่ได้ในการชมละคร โดยกล้องส่องทางไกลในยุคนั้นจะถูกทำขึ้นจากวัสดุดีเยี่ยม อาทิเช่น ทองคำ เงิน ไข่มุก หรือ อีนาเมล

 

จุดกำเนิดกล้องส่องทางไกล 2 ตาที่เป็นรากฐานของกล้องส่องทางไกลทุกวันนี้อยู่ในช่วงทศวรรษ 1890s โดยกล้องส่องทางไกลที่ใช้ปริซึม (prismatic Binoculars) ตัวแรกของโลกผลิตจากบริษัท Carl Zeiss Jena ในประเทศเยอรมันนี โดย Abbe (ผู้บริหารบริษัท Carl Zeiss รุ่นที่ 2) ได้นำปริซึมชนิด Porro (คิดค้นโดย Ignazio Porro) มาออกแบบและประดิษฐ์ใหม่กลายเป็น ปริซึมชนิด Porro-Abbe โดยการเปลี่ยนจากการใช้ปริซึม Porro 2 ชิ้นมาต่อกัน กลายเป็นปริซึมแก้วชิ้นเดียวเพื่อลดความสูญเสียทางแสง และได้จดสิทธิบัตรปริซึมดังกล่าว โดยปริซึม Perro-Abbe ได้สร้างชื่อเสียงเป็นอันมากให้กับกล้องส่องทางไกล Zeiss ในยุคปี 1890

 

จากความนิยมในคุณภาพกล้องส่องทางไกล Zeiss ทำให้ในปี ค.ศ. 1894 Zeiss ได้สร้างสายการผลิตกล้องส่องทางไกลสองตาโดยใช้ปริซึมออกจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ โดยในปี ค.ศ. 1900 ได้มีการบันทึกว่ามีการจ้างคนงานมากถึง 1,000 คนสำหรับสายการผลิตกล้องส่องทางไกล เมื่อสิทธิบัตรปริซึม Porro-Abbe หมดลงในปี ค.ศ.1908 ผู้ผลิตกล้องส่องทางไกลเกือบทุกรายก็ได้นำรูปแบบปริซึมนี้ไปใช้ในกล้องส่องทางไกลตนและเครื่องหมายการค้า ‘Carl Zeiss Jena’ ก็ได้ถูกใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1904 เรื่อยมาจนกระทั้งในปี 1991 ที่มีการรวมชาติเยอรมันเข้าด้วยกัน ทาง Zeiss จึงได้เปลี่ยนตราสินค้าเป็น Zeiss ดังเช่นในปัจจุบัน

จากนั้นกล้องส่องทางไกลแบบใช้ปริซึมก็ได้รับความนิยมเป็นอันมากและแทนที่กล้องส่องทางไกลแบบ Galiliean ไปในที่สุด

 

หนึ่งร้อยกว่าปีผ่านไป รูปแบบของกล้องส่องทางไกลสองตา หรือ Binoculars ยังคงมีหน้าตาเฉกเช่นเดียวกล้อง Carl Zeiss Binoculars ที่ถูกประดิษฐ์โดยคุณ​Abbe ครับ

 

กล้องส่องทางไกลแบบปริซึมตัวแรกของโลก ผลิตโดย Carl Zeiss เยอรมันเมื่อปี ค.ศ. 1894 (ภาพจากเวปไซด์ บ. Zeiss)

กล้องส่องทางไกล Zeiss ผลิตในปี 1918 (ภาพจากพิพิธภัณฑ์ Berlin)

กล้องส่องทางไกล Zeiss ที่จำน่ายในปัจจุบัน (2008)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *